07 ตุลาคม 2550

วัดพระธาตุดอยคำ

วัดพระธาตุดอยคำ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเนินเขาเล็กๆด้านหลังบริเวณที่จัดงานราชพฤกษ์ 49 และสวนสัตว์ไนท์ซาฟารี

พระธาตุดอยคำ มี้รูปแบบรูปทรงเดียวกับพระธาตุดอยสุเทพ แต่สัดส่วนต่างกัน

วิหารและพระธาตุ

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่จัดสร้างขึ้นใหม่

06 ตุลาคม 2550

วัดเจดีย์หลวง



วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดสำคัญของเมืองเชียงใหม่
มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่กษัตริย์ล้านนาหลายพระองค์ทรงร่วมสร้างร่วมทำนุบำรุงเพื่อเป็นศูนย์กลางของราชธานี แม้ปัจจุบันส่วนยอดจะหักพังลงเพราะแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แต่ก็ยังคงเป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สูงที่สุดในล้านนา

พญาแสนเมืองมา กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 7 ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พญากือนา พระบิดาเมื่อพ.ศ.1934 
แต่ไม่ทันแล้วเสร็จเพราะสิ้นรัชกาลเสียก่อน
พญาสามฝั่งแกนกษัตริย์ลำดับที่ 8 ทรงสร้างเจดีย์หลวงต่อจากพระบิดา โดยมีพระมหาเทวีติโลกจุดาราชเทวี พระมารดาพญาสามฝั่งแกน มเหสีพญาแสนเมืองมาทรงเป็นผู้ควบคุมดูแ ลการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ

ต่อมาในปีพ.ศ. 2018 พญาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 โปรดให้สีหโคตเสนาบดี ช่างหลวงเสริมองค์เจดีย์หลวงเพิ่มเติมให้มีส่วนสูง 45 วา ฐานกว้างด้านละ 35 วาทรงนำพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาธัมมคัมภีร์เถรนำมาจากลังกามาบรรจุไว้ แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาประดิษฐานไว้ที่ซุ้มด้านตะวันออกเมื่อพ.ศ.2025

พญายอดเชียงราย กษัตริย์ล้านนาลำดับถัดมาได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมทั้ง 4 ด้าน
พญาแก้วหรือพญาเมืองแก้วโปรดให้ปิดทองจังโกองค์พระเจดีย์ สร้างปราสาทสำหรับประดิษฐานพระแก้วมรกตและสร้างมหาวิหารขึ้นเมื่อพ.ศ.2046

จากนั้นมา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2088 ในสมัยพระนางจิระประภามหาเทวีครองเมืองชั่วคราวในระหว่างที่ราชบัลลังก์ล้านนาว่างลง ไม่มีกษัตริย์ปกครอง ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองเชียงใหม่ จนยอดพระเจดีย์หลวงหักพังลงมา จนถึงส่วนเรือนธาตุ และมีรอยร้าวทั้งองค์
วัดเจดีย์และพระเจดีย์หลวงก็ไม่ปรากฎหลักฐานการบูรณะอีกเลยตลอดสมัยที่เชียงใหม่และล้านนาอยู่ใต้การปกครองของพม่า
จนถึงพ.ศ.2471 สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย
เจ้าแก้วนวรัฐได้อาราธนาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ขึ้นมาบูรณะและพัฒนาวัดเจดีย์หลวงในช่วงปีพ.ศ.2471 – 2474
โดยท่านได้รวมเขตสังฆาวาสทั้ง 3 คือ หอธรรม (ปัจจุบันเป็นคณะหอธรรม) สบฝาง (ปัจจุบันเป็นศาลาปฏิบัติธรรม) และสุขมิน (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนเมตตาศึกษา) เข้าเป็นวัดเดียวกัน
ยกเว้นสังฆาวาสพันเตาที่แยกออกไปเป็นวัดพันเตา
ท่านทำการแผ้วถางรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง ก่อสร้างอาคารหลายหลัง รวมทั้งจัดตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม และการสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่
พ.ศ. 2481 วัดเจดีย์หลวงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรทำการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์หลวง ให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยรักษารูปทรงเท่าที่เหลืออยู่ หลังจากที่มีความพยายามให้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์หลวงขึ้นใหม่ทั้งองค์ ตามรูปแบบที่กรมศิลปากรสันนิษฐานขึ้น มีการทำการประชาพิจารณ์จากชาวเชียงใหม่ 
ในที่สุดกรมศิลปากรได้เลือกใช้การปฏิสังขรณ์เท่าที่เหลือรูปทรงอยู่โดยไม่เสริมต่อองค์พระเจดีย์
พระเจดีย์หลวงก่อนทำการบูรณะเมื่อพ.ศ.2533
อินทขิล หรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ที่ย้ายมาจากบริเวณสะดือเมือง
ตั้งอยู่ภายในมณฑปเคียงคู่กับต้นยางใหญ่ต้นสุดท้ายของวัดเจดีย์หลวง
พระอัฏฐารศ พระประธานในพระวิหารวัดเจดีย์หลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราชโปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954
กุฏิแก้วนวรัฐ
กุฏิที่ถูกใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงเป็นเวลานาน ก่อนที่จะย้ายไปอยู่กุฏิที่สร้างขึ้นใหม่
อาคารหลังนี้ จารึกไว้ว่า "กุฏิแก้วนวรัฐ พ.ศ.2471"
เป็นอาคารไม้สัก 2 ชั้น มี 3 มุข คือมุขแก้วนวรัฐ มุขเจ้าแม่จามรี และมุขราชบุตร(วงศ์ตะวัน)
เจ้าแก้วนวรัฐสร้างถวายเมื่อพ.ศ.2471 ได้รับการบูรณะโดยทายาทของท่านเมื่อพ.ศ.2537